สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร ลักษณะเป็นแบบไหน

สิวฮอร์โมนคือสิวอะไร หลายๆ คนอาจจะสงสัยกัน ในบทความนี้หมอจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสิวฮอร์โมนว่าสิวฮอร์โมนมีแบบไหนบ้าง มีวิธีรักษาสิวฮอร์โมนอย่างไรค่ะ

สิวฮอร์โมนคืออะไร

สิวฮอร์โมน (Hormones Acne) คือสิวที่พบเจอได้เมื่อฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงพบเจอได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นตั้งแต่ อายุ 15 – 20 ปี เพราะเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ แต่ก็มีโอกาสที่เกิดสิวฮอร์โมนได้ถึงแม้จะผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้วจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลจากสภาวะต่างๆ อย่างความเครียด หรือช่วงที่มีประจำเดือนได้ค่ะ

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร

สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นสิวฮอร์โมนเกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่คงที่แปรปรวนซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นอะไรหลายๆ อย่างในร่างกาย เพราะเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายออกมามากจะเข้าไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมาเยอะขึ้น หน้ามันมากขึ้นเกิดสิวฮอร์โมนขึ้นมาตามบริเวณต่างๆ โดยสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนไม่คงที่มีดังนี้

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร
  • เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาร่างกายให้เติบโตได้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นขนตามร่างกาย กล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจไปกระตุ้นต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันทำให้หน้ามันมากกว่าปกติจนเกิดสิวได้ง่ายขึ้นค่ะ

  • ประจำเดือน

ช่วงที่เป็นประจำเดือนร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทั้งฮอร์โมนเพศหญิง เพศชายในร่างกายสลับกันเพิ่มขึ้น และลดจำนวนไปมาทำให้ฮอร์โมนไม่คงที่ ซึ่งกระตุ้นต่อมไขมัน รูขุมขนเปิดกว้างขึ้นจึงเกิดการอุดตันทำให้สิวได้หลายประเภท
  • ตั้งครรภ์

ฮอร์โมนในร่างกายเกิดอาการแปรปรวนได้สูงมากในช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่ ทำให้เกิดสิวอักเสบ หรือสิวอุดตันตอนที่กำลังตั้งครรภ์ได้ โดยสิวมักจะขึ้นในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อผ่านไปสักพักฮอร์โมนจะคงที่

  • ความเครียด

เมื่อรู้สึกเครียดมากๆ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซล และแอนโดรเจนออกมา ซึ่งฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน กระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นสิวประเภทต่างๆ อย่างสิวอักเสบ

  • ถุงน้ำในรังไข่

หากเป็นสิวฮอร์โมนแบบไม่รู้สาเหตุอาจเกิดจากภาวะของถุงน้ำในรังไข่ได้ เพราะคนที่มีถุงน้ำในรังไข่จะพบว่ามีฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเพศชายในร่างกายสูง ซึ่งทำให้หน้ามัน และสิวขึ้น

สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหนดูอย่างไร

ลักษณะของสิวฮอร์โมนไม่ได้มีเฉพาะเจาะจง แต่ลักษณะคล้ายกับประเภทสิวอื่นๆ ทั่วไป โดยสิวฮอร์โมนมีทั้งหมดดังนี้

สิวฮอร์โมนแบบไม่อักเสบ
  • ประเภทสิวไม่อักเสบ หรือสิวอุดตัน

    • สิวหัวขาว เป็นสิวที่มีหัวสิวอยู่ใต้ชั้นผิวไม่มีอาการอักเสบ สังเกตได้ยากเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กมักมีสีเดียวกับสีผิว หรือสว่างกว่าสีผิวเล็กน้อยบางทีอาจสับสนและเข้าใจว่าเป็นสิวผดได้
    • สิวหัวดำ เป็นสิวที่มีหัวสิวขึ้นมาบนชั้นผิวไม่มีอาการอักเสบ สังเกตได้ง่ายมีลักษณะเป็นตุ่มนูน หัวสิวเป็นสีเข้มออกเหลืองๆ ไปจนถึงสีดำ อาจสับสนกับสิวเสี้ยนได้
สิวฮอร์โมนแบบอักเสบ
  • ประเภทสิวอักเสบ

    • สิวไม่มีหัว มีลักษณะเป็นตุ่มนูน เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกว่าเป็นก้อนแข็งๆ อยู่ใต้ชั้นผิว อาจมีอาการแดงรอบๆ สิว
      • สิวไต เป็นสิวไม่มีหัวที่มีลักษณะตุ่มนูนแข็งใต้ชั้นผิว สังเกตเห็นได้ในบางทีเพราะอาจจะมีอาการแดงรอบๆ สิว และเมื่อจับจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย
      • สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงที่หัวสิวอยู่ใต้ชั้นผิว มีอาการบวมแดงรอบๆ สิวเห็นได้ชัดเจน เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บค่อนข้างมาก
    • สิวหนอง เป็นสิวอักเสบที่ไม่รุนแรงมาก สามารถมองเห็นสังเกตได้ง่ายเพราะมีหัวสิวอยู่บนชั้นผิว ภายในหัวสิวเป็นหนองมีทั้งสีเหลือง และสีเขียว

สิวฮอร์โมนขึ้นตรงไหน

สิวฮอร์โมนสามารถขึ้นได้ทุกบริเวณทั่วร่างกาย แต่จะพบได้บ่อยที่บนใบหน้า โดยสิวฮอร์โมนนั้นมักจะขึ้นในที่เดิม ในช่วงระยะเวลาเดิมซ้ำๆ เป็นประจำ แม้ว่าจะดูแลผิวอย่างดีสิวก็ยังขึ้นมาให้เห็นอยู่ซึ่งบริเวณที่เจอสิวฮอร์โมนขึ้นซ้ำๆ บ่อยๆ ได้แก่

สิวฮอร์โมนพบบริเวณไหน
  • สิวที่คาง หากมีสิวขึ้นที่คางเยอะ และบ่อยซ้ำๆ เป็นฮอร์โมนแปรปรวนและสื่อได้ว่าอาจมีถุงน้ำในรังไข่ได้ หมอแนะนำให้ไปตรวจเพื่อรักษาค่ะ
  • สิวที่ปาก คล้ายกับการเกิดสิวฮอร์โมนที่คาง เมื่อบริเวณปากมีสิวขึ้นเยอะ ควรไปตรวจมดลูกเพราะอาจเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่ได้ และทำการรักษาเพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับมาปกติ
  • สิวที่กรอบหน้า ถ้าสิวฮอร์โมนขึ้นบริเวณกรอบหน้ามักจะขึ้นเรียงกันทั่วกรอบหน้า หากใครที่เป็นสิวที่กรอบหน้าเยอะๆ และขึ้นซ้ำในจุดนี้บ่อยๆ ถึงแม้สิวจะหายไปแล้ว แต่ก็กลับขึ้นมาอีกซ้ำอีกครั้งมักเกิดจากฮอร์โมนค่ะ

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนมีวิธีรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับสิวที่ขึ้นมาว่าเป็นสิวประเภทแบบไหน เพื่อรักษาสิวให้หายอย่างตรงจุด โดยวิธีรักษาสิวฮอร์โมนมีดังนี้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน
  • กดสิว

    เหมาะสำหรับสิวฮอร์โมนที่เป็นประเภทสิวอุดตันอย่างสิวหัวขาว หรือสิวหัวดำ ไม่แนะนำให้กดสิวสำหรับคนที่เป็นสิวอักเสบเนื่องจากอาจทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ถ้าคนที่กดสิวให้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอค่ะ

  • ฉีดสิว

    วิธีนี้ใช้ได้กับสิวที่ไม่สามารถกดออก บีบออกได้ เป็นสิวที่มีลักษณะไม่มีหัวสิวเป็นก้อนแข็งใต้ชั้นผิวอย่างสิวไต หรือสิวหัวช้าง โดยจะใช้สารในกลุ่มสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปโดยตรงที่สิวทำให้สิวเริ่มนิ่ม และยุบตัวลง

  • เลเซอร์สิว

    ใช้เครื่องเลเซอร์ที่มีคลื่นพลังงานความร้อนสูงยิ่งเข้าไปที่สิวเพื่อเปิดหัวสิว และนำหัวสิวออกมาได้โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ทำให้พัฒนาไปเป็นสิวอักเสบ ไม่ทิ้งรอยสิวให้กวนใจ เหมาะสำหรับสิวที่ไม่มีหัวกดออกยาก

  • ฉายแสงลดสิวฮอร์โมน

    ถ้ามีสิวอักเสบเยอะๆ การฉายแสงลดสิวสามารถช่วยลดการอักเสบได้โดยจะมีแสงอยู่ 2 สองสีคือ แสงสีฟ้า และแสงสีแดงที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ลดการอักเสบของสิว ลดการทำงานของต่อมไขมันทำให้หน้ามันน้อยลงด้วยค่ะ

  • ยารักษาสิวฮอร์โมน

    วิธีนี้มีทั้งยาแบบรับประทาน และแบบทา สำหรับยารักษาสิวฮอร์โมนแบบทาจะใช้ Retinol ,Glycolic acid , Salicylic acid , Benzoyl peroxide ทาลงไปที่สิว แต่สำหรับสิวฮอร์โมนแล้ววิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาแบบรับประทานเพื่อควบคุมฮอร์โมนให้คงที่ไม่แปรปรวนโดยจะเป็นยาคุมลดสิวที่ทำให้ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายกลับมาเป็นปกติ แต่ควรเข้ามาปรึกษาหมอก่อนที่จะเลือกใช้ เพราะยาบางชนิดไม่เหมาะสำหรับคนท้องค่ะ

หากรู้ตัวว่าเป็นสิวขึ้นซ้ำๆ ควรรีบรักษา หรือเข้ามาปรึกษาหมอทันที เนื่องจากสิวฮอร์โมนหายเองได้ยากมาก หากเป็นสิวฮอร์โมนในช่วงเริ่มต้นยังไม่รุนแรงอาจจะยังหายเองได้ แต่ถ้าเป็นสิวฮอร์โมนรุนแรงมีสิวหลายๆ ชนิดขึ้นมาจะไม่สามารถหายเองได้ และควรรับยาเพื่อปรับฮอร์โมนให้กลับมาคงที่เพื่อลดการเกิดสิวฮอร์โมนค่ะ

สรุป

สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายไม่คงที่แปรปรวน โดยจะมีสิวหลายๆ ชนิด หลายประเภทขึ้นมามักขึ้นบริเวณช่วงล่างของหน้าอย่างรอบปาก คาง กรอบหน้า วิธีรักษามีอยู่หลายแบบทั้งการเลเซอร์ กดสิว และยาควบคุมฮอร์โมนให้คงที่ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ค่ะ

ทีมแพทย์พัชชาคลินิก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายคุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save