ฟิลเลอร์เป็นหัตถการอันดับต้นๆ ที่หลายคนสนใจทำกัน ทำให้ในปัจจุบันมีฟิลเลอร์หลายยี่ห้อ และหลายคลินิกให้บริการฉีดฟิลเลอร์ แต่ก็ยังทำให้ฟิลเลอร์ปลอมเข้ามาปะปนกับฟิลเลอร์แท้ได้ง่ายมากขึ้น หมอจึงได้รวบรวมคำแนะนำต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเลือกฉีดฟิลเลอร์แท้ และหลีกเลี่ยงฟิลเลอร์ปลอมได้ค่ะ
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร
ฟิลเลอร์ปลอมคือ ฟิลเลอร์ที่ผลิตมาอย่างไม่ถูกต้อง ของลอกเลียนแบบของแท้ ใช้สารที่อันตรายเป็นส่วนประกอบในฟิลเลอร์ เช่น พาราฟิน ไบโอพลาสติก ซิลิโคนเหลว ฟิลเลอร์ประเภทเดียวที่ผ่านอย.ไทยคือ ฟิลเลอร์ที่ใช้สารเติมเต็มกรดไฮยาลูรอนิก ( Hyaluronic acid )สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ

ภาพผลกระทบหลังจากฉีดฟิลเลอร์ปลอมจาก : elitereaders.com
ฟิลเลอร์บางยี่ห้ออาจจะใช้ในประเทศอื่นอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าไม่ผ่านอย.ไทย และมีการนำเข้า หิ้วเข้ามาไม่ถูกขั้นตอน หรือเป็นฟิลเลอร์ยี่ห้อที่ผ่านอย.ไทย แต่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ก็จะถือว่าเป็นหนึ่งในฟิลเลอร์ปลอม ในบทความนี้หมอจะถือว่าฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านอย.ไทย นำเข้าอย่างผิดกฎหมาย ซื้อตามอินเทอร์เน็ตเป็นฟิลเลอร์ปลอมทั้งหมดค่ะ
ประเภทฟิลเลอร์ปลอม
เป็นฟิลเลอร์ที่ใช้สารไม่ผ่านอย.ไทย ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภท
-
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร เป็นฟิลเลอร์ที่ยังสลายได้แต่ไม่สามารถสลายได้หมด ทำให้มีสารตกค้างอยู่ในชั้นผิว อยู่ได้นานประมาณ 2 – 5 ปี สารที่ใช้ในฟิลเลอร์กึ่งถาวรจะมี สารแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) สาร PLLA (Poly-L-lactic acid) และสาร Polyalkylimide เมื่อฉีดบ่อยๆ หรือผ่านไปสักพักสารที่ตกค้างอยู่ในชั้นผิว จะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อน และเริ่มมีอาการอักเสบ ถึงแม้จะมีการใช้ฟิลเลอร์ประเภทนี้ในต่างประเทศ แต่ไม่ผ่านอย.ไทย ทำให้ถือว่าเป็นฟิลเลอร์ปลอมในประเทศไทย

-
ฟิลเลอร์แบบถาวร
ฟิลเลอร์ถาวร เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง อยู่คงทนบนใบหน้าตลอดไปคล้ายการเสริมซิลิโคนทำศัลยกรรม แต่อันตรายไม่ปลอดภัยเหมือนการศัลยกรรม เนื่องจากสารที่ใช้ในฟิลเลอร์แบบถาวร เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน และสาร PMMA (Polymethyl-methacrylate microspheres) เป็นสารที่ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และรักษาได้ยาก ใช้เวลานาน จึงจัดให้เป็นฟิลเลอร์ปลอม และไม่ผ่านอย.ไทย
อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ปลอมมีอันตรายอยู่หลายอย่างเลยค่ะ เพราะฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถสลายไปได้เองจะทิ้งสารตกค้างอยู่ในชั้นผิวของเรา จนสะสมกลายเป็นก้อน และยังมีประเภทที่ไม่สามารถสลายได้เลยจะอยู่บนใบหน้าของเราตลอดไป ซึ่งจะส่งให้ผิวบริเวณเสียและมีปัญหา อาการจะยังไม่เริ่มออกทันทีแต่จะเริ่มแสดงให้เห็นเมื่อผ่านไปสักพัก

เมื่อเจอความร้อนฟิลเลอร์แท้จะสลายไป แต่ฟิลเลอร์ปลอมจะไม่สลายตัวฟิลเลอร์จะไหลลงมากองอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งบนใบหน้าใกล้กับบริเวณที่ฉีด นอกจากนั้นฟิลเลอร์อาจจะทำให้เนื้อตาย เกิดพังผืด ผิวติดเชื้อ บวมแดง หากฉีดใกล้ตาอาจบอดได้
นอกจากฟิลเลอร์ปลอมจะอันตรายแล้วก็ยังแก้ไขได้ยากด้วย หากจะนำฟิลเลอร์ปลอมออกจากร่างกายไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์เหมือนฟิลเลอร์แท้ได้ ต้องขูดฟิลเลอร์ออกเท่านั้นค่ะ
ฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.
ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านอย.ไทย สามารถฉีดได้ไร้ปัญหาให้กังวลใจมีดังนี้
- ฟิลเลอร์ Restylane ฟิลเลอร์จากประเทศสวีเดน ผลิตด้วยเทคโนโลยี 2 เทคโนโลยี คือ NASHA technology และ OBT technology ทำให้ฟิลเลอร์ Restylane มีคุณสมบัติที่สามารถใช้ได้หลากหลายบริเวณ เพื่อปรับแก้ปัญหาผิวหน้าตามที่คนไข้ต้องการ
- ฟิลเลอร์ Juvederm ฟิลเลอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี Hylacross และ Vycross เพื่อตอบโจทย์กับการแก้ปัญหาบนใบหน้าในทุกบริเวณ โมเลกุลของฟิลเลอร์สามารถยึดเกาะกับผิวได้ดี และบวมน้ำหลังฉีดน้อยมาก
- ฟิลเลอร์ Neuramis ฟิลเลอร์จากประเทศเกาหลี ผลิตด้วยเทคโนโลยี SHAPE Technology ที่พัฒนาโดยบริษัท Medytox ประเทศเกาหลี แต่ละรุ่นถูกออกแบบมาให้มีความหนาแน่นของสารไฮยาลูรอนิคแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาจุดต่างๆ บนใบหน้า
- ฟิลเลอร์ Belotero ฟิลเลอร์จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผลิตด้วยเทคโนโลยี CPM (Cohesive Polydensified Matrix) เฉพาะของแบรนด์ โมเลกุลของฟิลเลอร์ Belotero จะมีการผสมผสานกันระหว่าง ความหนาแน่นและความยืดหยุ่น ทำให้เนื้อเนียน ไม่เป็นก้อน
- ฟิลเลอร์ Yvoire ฟิลเลอร์จากประเทศเกาหลี ผลิตด้วยเทคโนโลยี HICE Cross-link (HIgh Concentration Equalized Cross-link) ลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท LG Chem เป็นที่ยอมรับทั่วโลกส่งออกมาแล้วมากกว่า 44 ประเทศ
- ฟิลเลอร์ Definisse ฟิลเลอร์จากประเทศอิตาลี ผลิตด้วยเทคโนโลยี XTR Technology (eXcellent Three-Dimensional Reticulation) ทำให้กรดไฮยาลูรอนิคสานกันเป็นร่างแห ยกพยุง และปรับรูปหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ
- ฟิลเลอร์E.P.T.Q. ฟิลเลอร์จากประเทศเกาหลี ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3 เทคโนโลยี กระบวนการผลิต ZEEP Technology (Zero Endotoxin & BDDE Entire Process) Downing process 2CM Technology เนื้อฟิลเลอร์จะอนุภาคเล็ก ละเอียด ยืดหยุ่น และอยู่ได้นานมากขึ้น
- ฟิลเลอร์ Hyabell ฟิลเลอร์จากประเทศเยอรมัน ผลิตด้วยเทคโนโลยี MPT (Monophasic Particle Technology) เนื้อฟิลเลอร์จะไม่เคลื่อนที่ไปจากบริเวณที่ฉีด มีความหนืดยืดหยุ่นได้ดี
วิธีเช็คว่าฟิลเลอร์เป็นของแท้
วิธีที่สังเกตว่าฟิลเลอร์เป็นของแท้ ไม่ใช่ฟิลเลอร์ปลอม แต่ละยี่ห้อมีวิธีสังเกตที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่วิธีหลักๆ ที่สามารถเช็คว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ได้ทุกยี่ห้อ นำไปตรวจสอบกับอย.ไทยได้สามารถเช็คได้ดังนี้

- กล่องฟิลเลอร์ต้องปิดสนิทอยู่
- บนกล่องจะมีราคา วันหมดอายุ และหมายเลข ติดอยู่บนกล่อง
- กล่องฟิลเลอร์จะมีฉลากภาษาไทยติดอยู่
- เลข ต้องตรงกันทั้งหมด ทั้งบนกล่อง และที่หลอดฟิลเลอร์
- มี QR Code ให้สแกนเช็คว่าเป็นของแท้ได้ แต่มีในบางยี่ห้อเช่น ฟิลเลอร์ Neuramis และ ฟิลเลอร์ Restylane
- โทรเช็คเลข กับบริษัทผู้จัดจำหน่ายฟิลเลอร์โดยตรงได้
ไม่ควรหาซื้อฟิลเลอร์จากอินเทอร์เน็ตเอง เพราะอาจจะได้รับฟิลเลอร์ปลอมได้ ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากฟิลเลอร์เป็นสารที่ต้องมีการควบคุม เก็บรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยฟิลเลอร์ควรฉีดโดยแพทย์ สามารถเช็คฟิลเลอร์ได้เท่านั้น และเลือกคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบการ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ ไม่ให้เผลอไปฉีดฟิลเลอร์ปลอม
ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
ฟิลเลอร์ปลอมเมื่อฉีดไปแล้วจะเป็นอันตรายแก้ไขยากมาก ดังนั้นเราควรเลือกคลินิกที่ดีมีความปลอดภัย ฉีดฟิลเลอร์แท้ให้คนไข้ โดยตัดสินใจว่าจะเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดีจากข้อด้านล่างตามนี้ค่ะ

-
เลือกสถานที่ฉีดฟิลเลอร์มีใบประกอบการ
ควรเลือกสถานพยาบาลหรือคลินิกที่มีใบอนุญาต และมีเลขที่อนุญาตไว้ที่หน้าคลินิกอย่างชัดเจน คลินิกต้องดูสะอาด ปลอดภัย มีอุปกรณ์ที่ดี ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ดี
-
เลือกคลินิกที่มีแพทย์มีความเชี่ยวชาญ
ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมประจำคลินิก สามารถเช็คประวัติแพทย์ของคลินิกได้ว่าเป็นแพทย์ที่มีใบวุฒิบัตรจากแพทย์ที่สภารับรอง มีประสบการณ์และรู้จักกายวิภาคและวิเคราะห์ปัญหาใบหน้าของคนไข้ได้เป็นอย่างดี เข้ารับอบรมจากสถาบันทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ห้ามให้บุคคลที่ไม่ใช่แพทย์เป็นคนฉีดฟิลเลอร์
-
ต้องให้ตรวจเช็คได้ว่าฟิลเลอร์แท้
ปัจจุบันสามารถตรวจสอบชื่อคลินิกจากบริษัทจัดจำหน่ายฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อโดยตรงได้ คลินิกต้องยินยอมให้ตรวจเช็คฟิลเลอร์ หากคลินิกไม่ยินยอมให้ตรวจเช็คอาจจะเป็นฟิลเลอร์ปลอมได้
-
ราคาฟิลเลอร์
ราคาฟิลเลอร์ไม่ควรแพงเกินไปหรือถูกจนเกินไปตามราคาในท้องตลาดตอนนั้น หากเป็นราคาที่ถูกเกินไปมีแนวโน้มที่จะเป็นฟิลเลอร์ปลอมสูงค่ะ เพราะอาจจะรับหิวมาจากต่างประเทศ หรือไม่ได้มาตรฐานอย.ไทย จะเป็นอันตรายกับคนไข้ได้
-
ดูรีวิวเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ควรดูรีวิวของคลินิกหลายๆ แห่งไว้เปรียบเทียบกัน ว่ารีวิวดูน่าเชื่อถือไหม หรือมีการโฆษณาเกินจริงใช้โปรแกรมแต่งรูปตัดต่อหรือเปล่า ควรดูจากหลายช่องทางทั้งจากที่คลินิกโพสเอง และรีวิวจากผู้ใช้บริการจริง