งาน Thread into the new frontier จัดโดยสมาคมเวชสำอางและศัลยศาสตร์ผิวพรรณแห่งประเทศไทย (Thai cosmetic dermatology) เป็นงานประชุมเกี่ยวกับการร้อยไหมแห่งปี หมอได้รับเชิญเข้าเป็นหนึ่งในวิทยากรบรรยาย ร่วมกับอาจารย์แพทย์ในประเทศไทย และศัลยแพทย์จากต่างประเทศเพื่อให้ความรู้กับแพทย์ผู้เข้าฟังกว่า 300 ท่านจากประเทศไทยและต่างประเทศ
งานในครั้งนี้จัดขึ้นทั้งหมด 3 วัน เนื้อหาการเรียนการสอนเข้มข้นมาก โดยแต่ละวันมีการจัดงานอย่างไรบ้างหมอขอเล่าให้ฟังดังนี้ค่ะ
บรรยากาศงานวันที่ 1
เป็นการจัดฟังบรรยายที่โรงแรม Carlton Hotel Bangkok Sukhumvit ตั้งแต่เวลา 9.00-17.30น.
โดยหมอเป็นหนึ่งในวิทยากรที่อายุน้อยที่สุดในงานนี้ บรรยายร่วมกับอาจารย์แพทย์จากประเทศไทย 9 ท่าน และศัลยแพทย์จากต่างประเทศ 2ท่าน Dr.Kuang Cheng Chang จากไต้หวัน และ Dr.Amit Luthra จากอินเดีย
หัวข้อที่หมอบรรยายในงานวันนี้คือ The Unique 3D Mesh Suspension Technology In Medical Aesthetic พูดถึงหลักการในการใช้ไหมโครงตาข่าย (Tesslift) ที่มีจุดเด่นในเรื่องของตาข่าย ว่าทำไมถึงต้องเป็นตัวตาข่าย และส่งผลดีกับการยกกระชับอย่างไรบ้าง รวมถึงแชร์เทคนิคการร้อยไหมโครงตาข่ายและเทคนิคพิเศษเฉพาะของไหมโครงตาข่าย ที่ร้อยแล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับคนไข้
บรรยากาศงานวันที่ 2
จัดขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Part: Live Demonstration
โชว์การร้อยไหมยี่ห้อต่างๆที่ผ่านอย.ในประเทศไทย ในส่วนของหมอเองได้โชว์การร้อยไหมโครงตาข่าย (Tesslift) กับคนไข้ในกลุ่มอายุมากที่มีปัญหาหนังตาตก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยากมากสำหรับการร้อยไหม และเกิดผลข้างเคียงได้มาก
แต่สำหรับไหมโครงตาข่ายสามารถแก้ไขปัญหาหนังตาตกและคิ้วตกได้ดี และให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติสำหรับคนไข้กลุ่มนี้ที่ยังไม่อยากผ่าตัดแก้ไข
ผลลัพธ์เปรียบเทียบก่อนและหลังร้อยไหมโครงตาข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาหนังตาตก คิ้วตก
บรรยากาศงานวันที่ 3
จัดขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Part: Cadaver Workshop
เป็นการสอนและฝึกการร้อยไหมกับร่างอาจารย์ใหญ่ (ผู้ล่วงลับไปแล้วบริจาคร่างเพื่อการศึกษาให้กับบุคลากรทางการแพทย์) โดยหมอได้โชว์เทคนิคพิเศษพื้นฐานในร้อยไหมโครงตาข่าย ให้กับแพทย์ผู้เข้าร่วม ได้เข้าใจถึงหลักการทำงานของไหม และเพื่อเห็นภาพมากขึ้นเมื่อไหมเข้าไปอยู่ใต้ผิวควรอยู่ในชั้นไหน หลังจากร้อยไหมจะมีการเปิดผิวอาจารย์ใหญ่ดูว่าไหมที่เหล่าแพทย์ได้ลองร้อยไปอยู่ในชั้นที่ถูกต้องหรือไม่ และได้ศึกษาสรีระทางกายภาคของใบหน้าเพิ่มเติมอย่างละเอียด
สำหรับตัวหมอเองรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากสำหรับโอกาสสำคัญที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในอาจารย์สอนการร้อยไหมในงานระดับนานาชาติอย่างงานนี้ และเป็นแพทย์วิทยากรที่อายุน้อยที่สุดในงาน
หมอมีความตั้งใจและเตรียมตัวอย่างมากสำหรับงานนี้ เพื่อแชร์ความรู้และประสบการณ์การร้อยไหมให้กับแพทย์ผู้เข้าฟังอย่างเต็มที่ที่สุด หมอมีความคาดหวังว่าแพทย์ผู้เข้าเรียนทุกท่านจะได้ประโยชน์สูงสุดกลับไปพัฒนาทักษะการร้อยไหมของตัวเอง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับคนไข้ค่ะ